ไม้ยืนต้น
ต้นมะกา สรรพคุณและประโยชน์

ต้นมะกา สรรพคุณและประโยชน์

Spread the love

ต้นมะกา สรรพคุณและประโยชน์

ลักษณะของมะกา

สำหรับ ต้นมะกา ถือว่าเป็นอีกหนึ่งต้นไม้อีกหนึ่งชนิด ที่มีสรรพคุณทางยาอนยู่มากมาย โดยที่หลายคนอาจจะไม่เคยรู้มาก่อน และจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร แตกกิ่งก้านแผ่กว้าง เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล พอลำต้นแก่จะแตกเป็นสะเก็ดยาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และวิธีการปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนระบายน้ำได้ดี ชอบความชื้นมาก และมีแสงแดดแบบเต็มวัน พบขึ้นตามป่าโปร่งทั่วทุกภาคของประเทศไทย

ต้นมะกา

ใบมะกา ในส่วนของใบที่ออกมานั้น ก็จะเป็นใบประเภทใบเดี่ยว โดยที่จะออกเรียงสลับกันไปมา ลักษณะของใบเป็นรูปรี ปลายใบมน โคนใบมน ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่น ตลอดทั้งขอบใบอ่อนและยอดอ่อนเป็นสีแดง ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-8 เซนติเมตรและยาวประมาณ 8-21 เซนติเมตร แผ่นใบด้านหลังเกลี้ยงเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเป็นคราบสีขาว เนื้อใบบาง หลังใบและท้องใบเรียบ ก้านใบสั้น

ใบมะกา

ดอกมะกา ออกดอกเดี่ยวหรือออกเป็นกระจุกตามซอกใบ ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่ในต้นเดียวกัน ดอกเป็นสีเขียวอ่อน มีกลีบดอก 5 กลีบ ปลายกลีบดอกแหลม โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน เกสรดอกเป็นสีแดง

ดอกมะกา

สรรพคุณของมะกา

1.แก่นมีรสขม เป็นยาแก้กระษัย (แก่น) ส่วนเปลือกต้นมีรสฝาดขม เป็นยาแก้กระษัย แก้พิษกระษัย (เปลือกต้น)

2.ช่วยแก้ตานขโมย (ใบ)

3.ทั้งห้าส่วนเป็นยาบำรุงโลหิต (ทั้งห้า)

4.ช่วยบำรุงธาตุไฟ (ใบ)

5.ช่วยฟอกโลหิต (แก่น) ช่วยแก้โลหิตเป็นพิษ (ใบ)

6.รากและใบเป็นยาแก้ไข้ (ราก, ใบ) ส่วนใบเป็นยาลดไข้ (ใบ)

7.ใบมีรสขมขื่น สรรพคุณเป็นยาถ่ายพิษไข้ ถ่ายพิษตานซางในเด็ก (ใบ)

8.ใบนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาถ่ายเสมหะและโลหิต (ใบ)

9.ใบที่ตายนำมานึ่งมวนเป็นยาสูบกัดเสมหะ หรือนำมาต้มดื่มเป็นยาขับเสมหะ (ใบ) ส่วนแก่นก็เป็นยาขับเสมหะเช่นกัน (แก่น)

10.ช่วยแก้อาการสะอึก (ใบ)


ที่มา medthai

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *