
กล้วยนวล สรรพคุณและประโยชน์
กล้วยนวล สรรพคุณและประโยชน์
ลักษณะของกล้วยนวล
ต้น กล้วยนวล มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบได้ตั้งแต่ประเทศอินเดีย เนปาล พม่า จีนตอนใต้ และในภูมิภาคมาเลเซีย รวมไปถึงนิวกินีและฟิลิปปินส์ด้วย ส่วนในประเทศไทยจะพบได้ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และทางภาคใต้ เป็นกล้วยลำต้นเดี่ยว ไม่มีไหล น้ำยางเป็นสีเหลืองอมส้ม จัดเป็นไม้ล้มลุกที่มีกาบใบกลายเป็นลำต้นเทียม ลำต้นเทียมมีจุดสีดำม่วงกระจาย ลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก มีความสูงของต้นประมาณ 5-6 เมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นประมาณ 30-50 เซนติเมตร โคนต้นกว้างอวบใหญ่ ส่วนกาบลำต้นเป็นสีเขียวและมีนวลหนาสีขาว ไม่มีหน่อที่โคนต้น[1],[2],[5] ต้นกล้วยนวลสามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ เป็นไม้ล้มลุกที่เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนระบายน้ำได้ดี และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด


ดอกกล้วยนวล ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่คล้ายระฆังห้อยดิ่งลง โดยปลีมีใบประดับขนาดใหญ่สีเขียวเรียงสลับ และชิดติดกันตั้งแต่โคนจนถึงปลาย[1] ช่อดอกหรือปลีมีลักษณะเป็นรูปกรวย ยาวประมาณ 2.5 เมตร มีใบประดับเรียงซ้อนเหลื่อมกัน มีนวลติดทนอยู่ด้านใน แต่ละใบมีประมาณ 10-20 ดอก โดยดอกเพศผู้จะอยู่ช่วงปลาย ส่วนดอกเพศเมียหรือดอกสมบูรณ์เพศจะออกบริเวณช่วงโคน กลีบรวมที่เชื่อมติดกันยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร ที่ปลายมี 3 หยัก กลีบรวมที่แยกเป็นรูปหัวใจสั้นกว่ากลีบรวมที่เชื่อมติดกัน ที่ปลายเป็นติ่ง






สรรพคุณของกล้วยนวล
- รากเหง้าใช้เป็นยาแก้ถ่ายท้องได้เป็นอย่างดี (รากเหง้า)
- น้ำใส ๆ ที่อยู่ภายในโพรงหัว ใช้รักษาผมร่วง (น้ำใสที่อยู่ในโพรงหัว)
ประโยชน์ของกล้วยนวล
- ผลอ่อนนำมาใช้ทำส้มตำกล้วยหรือใช้รับประทานสด หรือจะใช้ผลดิบเป็นเครื่องเคียงก็ได้
- ยอดอ่อนนำมาใช้ทำแกงหยวกกล้วยใส่ไก่ มีรสหวานเล็กน้อย
- ปลีกล้วยสามารถนำมารับประทานได้ด้วยการนำไปแกง (เมี่ยน)
- บ้างว่ากล้วยชนิดนี้รับประทานไม่ได้ แต่สามารถนำมาใช้เลี้ยงสุกรได้ โดยกาบกล้วยใช้เป็นอาหารสุกร (เมี่ยน)
- ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไปในสวน
- ใบนำมาใช้รองผักหญ้า รองข้าวเหนียวตอนอุ่นในลังถึง หรือใช้กาบใบนำมาทำเชือกสำหรับรัดสิ่งของ หรือใช้สับทำปุ๋ยใส่โคนต้นไม้อื่น
ที่มา medthai