ไม้คลุมดิน
ต้นกากหมากตาฤาษี สรรพคุณและประโยชน์

ต้นกากหมากตาฤาษี สรรพคุณและประโยชน์

Spread the love

ต้นกากหมากตาฤาษี สรรพคุณและประโยชน์

ลักษณะของกากหมากตาฤาษี

ต้นกากหมากตาฤาษี จัดเป็นพืชเบียน เกาะอาศัยแย่งอาหารจากรากพืชชนิดอื่น มีความสูงได้ประมาณ 10-25 เซนติเมตร ลำต้นอยู่รวมกันเป็นก้อนขนาดใหญ่อยู่ใต้ดิน โดยลำต้นจะมีอยู่หลายสี เช่น สีน้ำตาล สีแดง สีแดงปนน้ำตาล สีเหลือง หรือสีเหลืองปนส้ม[1] มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย จีนตอนใต้ พม่า ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย และทวีปออสเตรเลีย ส่วนในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยพบขึ้นในป่าดิบชื้นทั่วไป บนเขาสูง ที่ความสูง 500-2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล โดยมักเกาะเบียนพืชในวงศ์ LEGUMINOSAE และพืชในวงศ์ VITACEAE หรือ VITIDACEAE

ต้นขนุนดิน

ต้นกากหมากตาฤาษี

ใบกากหมากตาฤาษี ใบเป็นใบเดี่ยว เรียบเวียนรอบลำต้น ใบมีขนาดเล็ก มีประมาณ 10-20 ใบ ใบเป็นสีเหลืองอมส้ม สีเหลืองอมแดง หรือสีน้ำตาล ปลายใบแหลม มีขนาดกว้างมากที่สุดประมาณ 2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3 เซนติเมตร

ใบกากหมากตาฤาษี

ดอกกากหมากตาฤาษี ออกดอกเป็นช่อ ดอกเป็นสีแดงอมน้ำตาล มีกลิ่นหอมเอียน ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่คนละต้น ช่อแก่จะชูก้านขึ้นพ้นผิวดินเป็นกลุ่มหรือเป็นกระจุก กลุ่มหนึ่งอาจมีดอกถึง 10 ดอก โดยช่อดอกเพศผู้มีลักษณะเป็นรูปไข่แกมรี มีขนาดกว้างประมาณ 2-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-15 เซนติเมตร ส่วนก้านดอกยาวประมาณ 0.7-1 เซนติเมตร กาบรองดอกเป็นรูปเหลี่ยมหรือมน ยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ดอกมีจำนวนมาก กลีบดอกมีประมาณ 4-5 กลีบ สีเหลืองอมเขียวอ่อน มีขนาดเล็กมาก ดอกเรียงชิดกัน ไม่เบี้ยว กลีบดอกมีขนาดเท่ากัน มีเกสรเพศผู้ 4-5 อัน เชื่อมติดกันเป็นก้อนแบนแคบ ๆ ยาวได้ประมาณ 2.5-5 มิลลิเมตร ตุ่มเกสรเป็นรูปเกือกม้า

ดอกกากหมากตาฤาษี

ขนุนดินเพศผู้

กากหมากตาฤาษีเพศผู้

ส่วนช่อดอกเพศเมียจะเป็นสีน้ำตาลอมแดง ลักษณะค่อนข้างกลมหรือรี มีขนาดประมาณ 2-10 เซนติเมตร ดอกเล็กละเอียดจำนวนมากอยู่ชิดกันแน่น ออกดอกในช่วงประมาณเดือนกันยายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ พบออกดอกนอกฤดูกาลบ้าง แต่ก็ไม่บ่อยนัก

ขนุนดินเพศเมีย

กากหมากตาฤาษีเพศเมีย

สรรพคุณของกากหมากตาฤาษี

  • ทั้งต้นกากหมากตาฤาษี มีรสฝาด แพทย์ตามชนบทจะเอาผลตากแห้ง นำมาฝนกับน้ำฝนบนฝาละมีหม้อดิน ใช้เป็นยาแก้หูเป็นน้ำหนวก แก้แผลเน่าเรื้อรังเป็นอย่างดี (ต้น)
  • ชาวบ้านในแถบตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จะนำหัวของกากหมากตาฤาษี ไปผสมกับสมุนไพรอื่น ๆ ทำเป็นยาแก้หอบหืดมานมนาน ซึ่งว่านับเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่น่าทึ่ง เพราะมีรายงานทางด้านการแพทย์ว่า ลำต้นที่มีลักษณะเป็นหัวที่ฝังอยู่ใต้ดินนำมาสกัดได้สารโคนิเฟอริน (coniferin) สามารถใช้ทำยาแก้โรคหอบหืดได้ (ต้น)

ที่มา medthai

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *