สมุนไพร
ต้นช้อยนางรำ (Telegraph plant)

ต้นช้อยนางรำ (Telegraph plant)

Spread the love

ช้อยนางรำ สรรพคุณและประโยชน์

                   ต้นช้อยนางรำ (Telegraph plant) หนึ่งในพรรณไม้ประเภทหญ้า แต่ต้นไม้ชนิดนี้จะเป็นต้นไม้ประเภทพุ่ม ที่เล็ก ๆ ไม่ใหญ่เกินไป โดยที่ในส่วนของลำต้นนั้นจะมีความสูงได้ประมาณ 90 เซนติเมตร ส่วนผิวของลำต้นนั้นจะเป็นสีไม้แห้ง จัดเป็นว่านชนิดหนึ่ง แต่กลับไม่ใช่พืชลงหัวอย่างว่านทั่วไป พรรณไม้ชนิดนี้ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด มักขึ้นเองตามป่าชื้นทั่วไป หรือมีปลูกไว้ตามบ้านเพื่อไว้ดูเล่นเป็นของแปลก ๆ และได้มีผู้นำเข้ามาปลูกไว้ที่สวนหลังวัดพญา ในปัจจุบันหาได้ค่อนข้างยาก

 

                   ใบช้อยนางรำ ใบแยกเป็นใบย่อย 3 ใบ ใบย่อยแต่ละใบมีลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายใบมน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2-7 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียว ผิวใบด้านบนเป็นมัน ส่วนด้านล่างมีขนละเอียด

 

                   ดอกช้อยนางรำ ดอกของมันนั้นจะแทงออกจากด้านข้างหรือจะงอกออกที่ส่วนของยอด เป็นช่อดอกแบบติดดอกสลับ ก้านช่อดอกมีขน ดอกมีขนาดเล็กคล้ายดอกถั่วแปบ แต่จะมีขนาดเล็กกว่าถั่วแปบมาก โดยกลีบดอกจะเป็นสีม่วงปนขาวหรือสีม่วงแดง และมีกลีบเลี้ยงเป็นรูปกระดิ่ง

 

สรรพคุณของ ต้นช้อยนางรำ (Telegraph plant)

  • ต้น ราก และใบ ใช้ต้มดื่มเป็นยารักษาอาการเจ็บป่วย (ต้น, ราก, ใบ)
  • ใบใช้เป็นยาแก้ไข้ตัวร้อน แก้ไข้พิษ และแก้ฝีภายใน (ใบ)
  • ใช้เป็นยาแก้ไข้ประสาทพิการ แก้ไข้รำเพรำพัด (ต้น, ราก, ใบ)
  • ลำต้นมีสรรพคุณเป็นยาดับพิษร้อนภายใน (ลำต้น)
  • ลำต้นใช้เป็นยาแก้ฝีภายใน ฝีในท้อง (ลำต้น)
  • ต้น ราก และใบ ใช้ต้มดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ (ต้น, ราก, ใบ)
  • แพทย์แผนโบราณจะใช้ต้น ราก และใบของว่านชนิดนี้นำมาโขลกให้ละเอียดกวนกับปรอทในน้ำหนักเท่ากัน ๆ จะทำให้ปรอทแข็งตัว (ต้น, ราก, ใบ)
  • ใช้เข้ากับยาแผนโบราณได้หลายขนาน โดยเด็ดใบไปต้มเข้ากับตัวยาอื่น ๆ (ใบ)

ต้นช้อยนางรำ (Telegraph plant)

 

ประโยชน์ของช้อยนางรำ

  • พรรณไม้ชนิดนี้มีปลูกกันบ้างไว้ดูเล่นเป็นไม้แปลก ๆ แต่ค่อนข้างปลูกเลี้ยงยาก กระทบกระเทือนมากก็อาจตายเอาดื้อ ๆ จึงต้องปลูกและกระทำอย่างระมัดระวัง
  • พรรณไม้ชนิดนี้บางคนจะนำมาปลูกไว้ในกระถาง แล้วนำไปใส่ในตู้ไว้โดยไม่ให้ถูกลมพัด แล้วจึงช่วยกันตบมือ ใบอ่อนของพรรณไม้ชนิดนี้ก็จะกระดิกได้เป็นจังหวะ ถึงแม้ว่าเราจะจ้องดูอยู่โดยไม่ให้มันเคลื่อนไหว ซึ่งมันจะกระดิกไปเองตามธรรมชาติของมัน จึงจัดว่าเป็นพรรณไม้ที่น่าอัศจรรย์ชนิดหนึ่ง สันนิษฐานว่าคงเป็นเพราะต้นไม้นี้มีปุ่มที่สามารถรับเครื่องเสียงและคลื่นเสียงได้ และคงไปกระทบต่อสารภายในของต้น แล้วส่งผลให้หูใบกระดิกหรือเคลื่อนไหวได้ในลักษณะเหมือนนางรำในละคร จึงเป็นที่มาของอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า “สาวน้อยเริงระบำ”
  • ช้อยนางรำเป็นสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่มีความเชื่อในเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งโบราณเรียกว่านกายสิทธิ์ นับถือกันมาแต่โบราณว่าเป็นไม้กายสิทธิ์ มีอำนาจทางโชคลาภและเมตตามหานิยม หากบ้านหรือร้านค้าใดปลูกไว้ก็จะช่วยกวักเรียกเงินทองมาสู่ผู้ปลูกแบบไม่ขาดสาย

คลิปจาก OddScience

 

 

 

 

 

 

 

ต้นช้อยนางรำ 

ข้อมูล อ้างอิง medthai

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *